สาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
โรคผมร่วงแบ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆ
1.ผมร่วงชั่วคราว ได้แก่
- ภาวะผมร่วงจากการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้สูง จับสั่น ไข้มาลาเรีย
- ผมร่วงจากภาวะหลังผ่าตัดที่มีการวิสัญญี
- ผมร่วงจากภาวะหลังคลอดบุตรภายใน 3 เดือนแรก
- ผมร่วงจากาการได้รับรังสีรักษา และ เคมีบำบัด
- ผมร่วงจากการได้รับสารเคมีที่บริเวณเส้นผม เช่น การโกรก ดัด ยืด หรือย้อมผม
- ผมร่วงจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับสารพิษจากการปนเปื้อนในอาหาร
2.ผมร่วงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
- ผมร่วงจากศีรษะล้านกรรมพันธุ์ พบมากกว่าร้อยละ 90 ของคนไข้ที่เป็นผมร่วงประเภทนี้ และพบได้ทั้งหญิงและชาย
- ผมร่วงจากโรคภูมิต้านทานไว (Autoimmune Disease)
- ผมร่วงจากสำเหตุอื่น เช่น ผมร่วงจากภาวะฮอร์โมนผิดปรกติ
ศีรษะล้านกรรมพันธุ์ หรือผมบางกรรมพันธุ์
มนุษย์โลกได้รู้จักโรคนี้ตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้เป็นเวลามากกว่า 3,000 ปี โดยอักษรภาพเฮียโรกราฟฟิก (Hieroglyphic) ของอียิปต์โบราณได้บันทึกถึงความพยายามของพระนางคลีโอพัตตราในการรักษาศีรษะล้านของสวามีอันเป็นที่รักคือจูเลียตซีซาร์ด้วยการใช้สารพัดวิธีของการหมักบนหนังศีรษะของจูเลียตซีซาร์ เช่นใช้ส่วนผสมฟันของม้า (Horse teeth) , น้ำมันจากหมี Bear grease ,ไขกระดูกของกวาง (Deer marrow )และ หนูย่าง (burnt domestic mice) แต่หาได้เป็นผลไม่ เราจึงได้ขนานนามของ
พระนางคลีโอพัตราว่าเป็นมารดาหรือผู้ให้กำเนิดความพยายามในการรักษาโรคศีรษะล้าน
ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาองค์การอาหารและยาและสถาบันการแพทย์ได้ยอมรับตัวยาที่มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า 5-alpha BLOCKER ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาที่มีเพื่อใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต ทว่าได้มีการอนุมัติให้นำมาใช้รักษาโรคศีรษะล้านในเพศชายในขนาน 1-2 มิลลิกรัมโดยให้ผลการรักษายับยั้งการร่วงของผมบางกรรมพันธุ์ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากปํญหาของผมบางกรรมพันธุ์นั้นเกิดจากมียีน(Gene) ศีรษะล้านประจำตัวโดยเป็นลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมแบบเด่น (Dominant Gene)ฉะนั้นในประชากรทั่วไปจะพบคนศีรษะล้านได้ถึงร้อยละ 10 เป็นอย่างน้อย แต่จะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มของ คอเคเซียน (Caucasian) และ อารยัน (Arayan) ซึ่งจะมีประชากรศีรษะล้านได้มากถึงร้อยละ 25 – 30 ในขณะที่ชนเผ่าอินเดียแดงในทวีปอเมริกาดั้งเดิมจะไม่พบคนศีรษะล้านในกลุ่มคนเหล่านี้เลย จึงเชื่อได้ว่าโรคศีรษะล้านกรรมพันธุ์เป็นโรคที่เกิดจากการผ่าเหล่า (Mutation) ของมนุษย์แต่กลับเป็นยีนส์เด่นจึงทำให้กระจายไปทั่วโลก
กลไกของการเกิดศีรษะล้าน
บุคคลที่เป็นศีรษะล้านกรรมพันธุ์ทุกคน จะไม่มีใครเลยที่ปรากฎอาการก่อนวัยเจริญพันธุ์ อันเนื่องมาจากต้องรอสัญญาณพิเศษที่จะมากระตุ้นกลไกศีรษะล้านซึ่งก็คือ ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ซึ่งสร้างมาจากอัณฑะเป็นแหล่งใหญ่ ส่วนในผู้หญิงมาจากต่อมหมวกไตและรังไข่ฮอร์โมนเพศชายมีความจำเป็นในทั้งสองเพศ เพื่อออกฤทธิ์ร่วมกับฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) เพื่อให้กระดูกยาวขึ้นกล่าวคือทำให้ร่างกายสูงขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว โดยการทำงานของฮอร์โมนทุกชนิดนั้นต้องมี รีเซพเตอร์ (Receptors) เป็นตัวแสดงถึงการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนนั้น รีเซพเตอร์นั้นเปรียบได้กับสถานีปลายทางที่จะกำหนดการสร้างโปรตีนและการเผาผลาญต่างๆซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจจิต
ใจของมนุษย์ (Autonomic system) ในกรณีของบุคคลที่มีศีรษะล้านกรรมพันธุ์จะมีสถานีพิเศษ (Special receptors) บริเวณรากผมซึ่งมีชื่อว่า 5 อัลฟ่า รีดักเตส (5-alpha-reductase )ซึ่งในปัจจุบันมีการกล่าวถึงเพียง 2 ชนิด คือ 5 -อัลฟ่า 1และ 5 -อัลฟ่า 2 รีเซพเตอร์ โดยทั้ง 2 ตัวจะเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชาย ชนิดตั้งต้นกลายเป็น 5 -DHT (5-Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็น ฮอร์โมนเพศชายชนิดตื่นตัวประกอบกับการมี unknown receptor ซึ่งทำงานร่วมกับ 5- DHT ในการกระตุ้นให้เกิดการตีบ
ตัวของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงรากผมในบริเวณที่มี unknown receptor เหล่านั้น ซึ่งก็คือตำแหน่งของศรีษะที่เป็นศีรษะล้านกรรมพันธุ์นั้นเอง
อ้างอิงจาก : FITZPATRICK’S DERMATOLOGY IN GENERAL MEDICINE FIFTH EDITION VOLUME 1,2 INTERNATIONAL EDITION